www.chiangmaicoffee.com      




พันธุ์กาแฟ (Coffee Varieties)
    
กาแฟอราบิก้า แยกสายพันธุ์ต่างๆ (Arabica coffee varieties)
  
กาแฟอราบิก้ามีโครโมโซม ที่สามารถผสมตัวเองได้ ทำให้มีการผสมภายในสายพันธุ์ (inbreeding) โดยไม่ทำให้เกิดผลเสีย แต่อาจจะมีการแตกผ่าเหล่าขึ้นได้ เกิดเป็นสายพันธุ์ต่างๆหลายสายพันธุ์ พอแยกพันธุ์สำคัญได้ อาทิ
 
๐ พันธุ์ทิปปิก้า (Typica) มีลักษณะเด่นยอดเป็นสีทองแดง ติดลูกห่างระหว่างข้อ มีใบเล็กเรียบ เจริญเติมโตเร็ว แต่ไม่ทนต่อโรคฯลฯ
เป็นพันธุ์ดั่งเดิมต้นกำเนิดของกาแฟอราบิก้า เริ่มปลูกในเยเมน แล้วแพร่หลายไปสู่ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย อเมริกาใต้ ฟิลิปปินส์และฮาวาย (ภาพขวามือ)
 
พันธุ์บลูเมาเทน (Bule Mountion) กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ทิปปิก้า
นำไปปลูกที่บลูเมาเทนในจาไมก้า มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมบนภูเขาที่สูง เป็นกาแฟที่มีคุณภาพและรสชาติดีมาก เป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภค ถือว่าเป็นกาแฟมีชื่อเสียงอันดับหนึ่งของโลก จึงมีราคาแพงที่สุดเช่นกัน
๐ พันธุ์มอกก้า (Mocha หรือ Mokka)
  เป็นกาแฟส่งออกผ่านท่าเรือ โมช่า(Mocha) ใช้ชื่อการค้าว่า ม๊อกกา (Mokka) ใประเทศอินโดนีเซีย มีความแตกต่างอย่างมากจากพันธุ์ที่ปลูกในแหล่งเดิม มีเอกลักษณ์กลิ่หอมผลไม้คล้ายโกโก้ อย่างไรก็ตามพันธุ์นี้มีผลทางเศรษฐกิจน้อยมาก เพราะมีปริมาณผลผลิตจำกัดที่ออกสู่ตลาด
๐ พันโคน่า (Kona) เป็นที่รู้จักดีสำหรับคอกาแฟในคุณภาพและรสชาติที่ติดอันดับต้นๆของกาแฟทั่วโลก ตามรูปแบบของกาแฟพันธุ์ทิปปิก้า ได้นำมาจากเมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล มาปลูกในเมืองโคน่า ประเทศฮาวาย ภายใต้ชื่อการค้า "ฮาวายโคน่า"มีราคาที่แพงที่สุดในตลาดโลกเช่นเดียวกับ บลูเมาเทน
กาแฟอราบิก้ายังแยกพันธุ์ผสมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากมาย คือพันธุ์คาทูร่า (Catura)
พันธุ์คาทุย (Catuai) พันธุ์เบอร์บอน (Bourbon) พันธุ์เค้นส์ (Kent)ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะพิจารณาเห็นว่าเป็นชื่อจากแหล่งการเพาะปลูก หรือเมืองที่ปลูก อันมีรายละเอียดและความดีเด่น ในทุกมุมอย่างกว้างขวาง ตามข้อมูลการศึกษา-วิจัย

  กาแฟอราบิก้าไทย
  พันธุ์อราบิก้าชื่อ "คาติมอร์" (CatiMor) เป็นการเรียกชื่อพันธุ์มาจากคำว่า คาทูร่า(Catturra) และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์(Hibrido de Timor) เป็นชื่อเรียกตามการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างคาทูร่าผลแดง เป็นต้นแม่พันธุ์ และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์เป็นต้นพ่อพันธุ์ ผลการผสมระหว่างลูกผสมข้ามชนิด ทำให้ลูกผสมที่ได้มีความต้านทานต่อโรคราสนิม  และ ได้ลักษณะทรงเตี้ย ผลผลิตสูง และใช้หมายเลข CIFC  19/1 และ  832/1 ซึ่งกำหนดโดยนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ Centro de Investicao -das Ferrugens de Cafeeiro (CIFC) ในประเทศโปรตุเกส
  สถานีวิจัย CIFC ได้เริ่มแผนการปรับปรุงพันธุ์ในตอนต้นปี พ.ศ.2503 เป็นลูกผสมรุ่นที่ 1 รวมทั้งการศึกษาทดลองผสมพันธุ์กับกาแฟอราบิก้าตัวอื่นๆ อีกจำนวนมากมายหลายรุ่น  หลายชั่วอายุสายพันธุ์ และได้นำมาคัดเลือกความต้านทานโรคราสนิม โรคอื่นๆในเมืองไทย รวมทั้งค้นหาศักยภาพในการให้ผลผลิต และ คุณภาพที่ดี ณ โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งหน่วยงานพัฒนาเกษตรที่สูงหลายหน่วยงาน จนเป็นที่ยอมรับว่า พันธุ์กาแฟคาติมอร์ มีคุณภาพดีเหมาะสมแด่การส่งเสริมไปสู่แปลงปลูกของเกษตรกรชาวไทยภูเขา มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการศึกษา-วิจัย และติดตามประเมินผล ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเจริญเติมโต การดูแลรักษา ปรับปรุงบำรุงพันธุ์ก็ยังต้องมีต่อไป.

        : ที่มา..พันธุ์กาแฟ จากหนังสือ การปลูกและการผลิตกาแฟอราบิก้าบนที่สูง
          โดย ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ (ปี พ.ศ.2537)

                                                                   
 


เมล็ดกาแฟดิบที่นำมาคั่วเป็นเครื่องดื่มกาแฟ

เพื่อความรู้ที่ก้าวเข้าไปสู่เมล็ดกาแฟ สำหรับท่านที่กำลังศึกษาหาความรู้จากไม้ยืนต้นที่เป็นไม้เมืองหนาว
ของกาแฟ ที่ให้ผลผลิตเป็นผล (Cherry-Perry)ซึ่งมีเมล็ดแข็ง (Seed) อยู่ภายใน และ ส่วนของเมล็ดกาแฟนี้เอง
ที่มนุษย์ได้นำมาใช้เป็นประโยชน์ โดยการนำไปผ่านความร้อนจนกระทั่งเมล็ดเป็นสีน้ำตาลเมื่อนำมาบดเป็นผงและชงด้วยน้ำร้อน ก็จะได้เครื่องดื่มกาแฟที่มีรสเข้มและกลิ่นหอม
ผลสดของกาแฟในประเทศเราที่รู้จักกัน 2 ชนิด คือโรบัสต้า และ อราบิก้ามีลักษณะทรงกลมรีแบบทรงไข่
(Oval Shape)
แต่มีความแตกต่างกันที่ขนาดของผลคือ ผลสดกาแฟอราบิก้า มีขนาดใหญ่กว่าโรบัสต้า
และ มีชั้นเนื้อบางๆหนากว่าโรบัสต้า ผลสดของกาแฟโรบัสต้ามีรูปทรงกลมกว่า เมล็ดเล็กกว่า



ผลสดของกาแฟประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้คือเปลือกผล (Exocarp=Skin) มักมีสีแดง
แต่กาแฟบางชนิด/บางสายพันธุ์มีเปลือกผลสีแดงสด แดงเข้มเลือดหมู สีเหลือง และ สีส้มอยู่บ้างเนื้อบางๆสีใส หรือ สีเหลืองอ่อน (Mesocarp=Pulp) ที่อยู่ใต้เปลือกผลและ หุ้มรอบกะลากาแฟ มีรสหวานเล็กน้อยเมื่อผลสุกกะลา (Endocarp=Parchment) เป็นส่วนที่อยู่ใต้เนื้อบางใส กะละเป็นส่วนที่มีความเหนียว และ แข็งหุ้มเมล็ดไว้ภายในเยื่อบางๆหุ้มเมล็ด (Spermoderm/Testa = Silver skin) เป็นส่วนเยื่อบางๆสีเหลืองอ่อนติดเมล็ดเนื้อเมล็ด (Endosperm=Seed/Bean) อยู่ภายใต้กะลา ภายในเมล็ดมีคัพภะ-(Embryo) ใกล้ฐานของเมล็ด
ส่วนของเมล็ดนี้เองที่นำมาใช้ประโยชน์โดยการนำมาคั่วด้วยความร้อนจนเกิดสีน้ำตาล
มีกลิ่นหอม เมื่อนำมาบดให้เป็นผงละเอียดแล้วชงด้วยน้ำร้อนทำเป็นเครื่องดื่มกาแฟ

โดยทั่วไปในหนึ่งผลของกาแฟสด มักมีเมล็ดที่อยู่ภายในกะลารูปร่างกลมรีประกบกันอยู่ 2 เมล็ด ส่วนของเมล็ดทีประกบกันอยู่นั้น เมื่อแยกออกจากกัน จะพบว่าด้านที่ประกบกันอยู่หรือด้านในของเมล็ด มีลักษณะแบน และ
มีร่องของรอยแยกตรงกลางของเมล็ด (Center cut) ส่วนอีกด้านหนึ่งของเมล็ดมีความโค้งนูนแบบหลังเต่า
แต่บางครั้งในขั้นตอนของการเจริญพัฒนาของเซลหลังจากการผสมพันธุ์อาจจะมีการสร้างเมล็ดที่แตกต่างกันไปบ้าง ได้แก่เมล็ดปกติ มีลักษณะเป็นซีกประกบกัน 2 ซีก มีเนื้อด้านข้างและร่องกลางเมล็ดกลม (Peaberry)
มีหนึ่งเมล็ดในหนึ่งผล เรียกว่ากาแฟเมล็ดโทนเป็นเมล็ดที่จัดอยู่ในประเภทคุณภาพพิเศษ เป็นเหตุผลของผู้คั่ว
ที่เชื่อว่าเป็น เมล็ดกาแฟที่มีการสะสมอาหารอย่างเต็มที่ จะมีปริมาณ 10-15 %ของกาแฟทั้งหมดเมล็ดหูช้าง (Elephant ears) เป็นเมล็ดขนาดใหญ่แต่มีรอยแยกด้านบนโค้งนูนทำให้แยกชิ้นส่วนออกจากกันได้ง่าย
มีลักษณะคล้ายใบหูช้างเมล็ดซีก ในหนึ่งผลมีเมล็ดประกบกันอยู่ 3 ชิ้น เป็นเมล็ดที่ถูกแยกไว้รวมกับเมล็ดแตกหัก
ที่มีคุณภาพและราคารองลงไปจากเมล็ดธรรมดา

(เรื่อง-เนื้อหาจาก หนังสือสรรสาระกาแฟ ของ อ.พัชนีฯ15.พค52)